เยี่ยมชม “66 ปี ต้นไม้ของพ่อ” ยังงดงาม ณ โคลอมโบ ศรีลังกา (วัดทีปทุตตมาราม)

วัดทีปมุตตมาราม ณ โคลอมโบ คือวัดในศรีลังกาที่อยู่ในพระอุปถัมภ์จากพระบรมวงศานุวงศ์มายาวนานกว่า 100 ปี สู่ 66 ปี ต้นไม้ที่พ่อปลูก…ยังงดงามจารึกไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระองค์เคยเสด็จฯมาเยือนสถานที่แห่งนี้ 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-11

บทความยาวหน่อย แต่พาเที่ยวชมอย่างละเอียดและเข้าใจมากกว่าครับ

 

ก่อนที่ผมจะพาทุกท่านไปชมต้นไม้ของพ่อกันแบบเต็มๆ ผมขอเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง สยาม กับ ศรีลังกา อย่างละเอียด(พอประมาณ)กันซะก่อน จะได้สร้างความเข้าใจว่า “ทำไม 2 ประเทศนี้ถึงผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น” 

ย้อนกลับไป 800 ปีก่อน แผ่นดินไทยประกอบไปด้วยหลายอาณาจักร รวมถึงอาณาจักรนครศรีธรรมโศกราช นำโดย “พระเจ้าจันทรภาณุ” (ครองราชย์ พ.ศ.1790-1813) ได้ปลดแอกประกาศอิสรภาพจากอาณาจักรศรีวิชัยที่เริ่มอ่อนแอ สมัยนั้นพระองค์ทรงประกาศแสนยานุภาพ ส่งกองทัพไปตีเกาะลังกา(ศรีลังกาในปัจจุบัน) และยึดทางตอนเหนือไว้ได้ถึง 2 ครั้ง 

เมื่อครั้งพระองค์ส่งฑูตขออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐ์ที่วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช ท่านได้ขออาราธนาพระภิกษุเพื่อมาเผยแพร่ศาสนาพุทธ ทำให้เกิด “พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์” จนเป็นที่มาของการบูรณะเจดีย์มหาธาตุ จากศิลปะศรีวิชัย ให้สร้างเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ หรือ โอคว่ำ ครอบทับเจดีย์เดิม ตามแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา 

img_1700

วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช (ภาพจาก google)

จนในปีพ.ศ. 1820 พ่อขุนรามคำแพง กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้อาราธนาพระมหาเถรสังฆราชเมืองนครศรีธรรมราช เดินทางมาจำวัดที่วัดอรัญญิก สุโขทัย ยิ่งทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแผ่นดินสยามนับจากนั้นเรื่อยมา 

img_1701

เจดีย์ ณ สุโขทัย ได้รับอิทธิพลแบบลังกาเช่นกัน (ภาพจาก Google)

400 ปีต่อมา ศาสนาพุทธได้เสื่อมลงในแผ่นดินศรีลังกา เพราะการรุกรานจากชาติตะวันตกที่นำศาสนาคริสต์มาเผยแพร่ รวมถึงชาวทมิฬที่เข้ามาคุกคาม ย่ำแย่ถึงขนาดที่ไม่มีพระสงฆ์ที่สามารถเป็นพระอุปัชฌาย์ได้เลย ทำให้ “พระกีรติศรีราชสิงหะ” กษัตริย์ศรีลังกาสมัยนั้น ส่งคณะฑูตมายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อขอสมณฑูตจากสยามไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกา 

img_1698

ชาวฮอลันดาเข้ามาล่าอาณานิคมในศรีลังกา รุกรานชาวสิงหลและทำร้ายศาสนสถานเป็นจำนวนมาก (ภาพจาก google)

ราว 2 ปีต่อมา พ.ศ. 2295 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงรับสั่งให้จัดคณะพระธรรมฑูตชุดแรก นำโดย “พระอุบาลีมหาเถระ” จากวัดธรรมาราม กรุงศรีอยุธยา ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฏกทั้งปริยัติและปฏิบัติ ตำแหน่งท่านถือว่าเทียบเท่านายกรัฐมนตรีฝ่ายสงฆ์ก็ว่าได้ คณะธรรมฑูตสยามเดินทางโดยเรือชาวฮอลันดาถึง 5 เดือน เมื่อถึงศรีลังกา ภายระยะเวลา 3 ปี ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทให้พระ 700 รูป และสามเณร 2,300 รูป ทำให้พุทธศาสนาในศรีลังกายืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน และให้เกียรติยกย่องว่า “นิกายสยามวงศ์” ซึ่งเป็นนิกายใหญ่ที่สุด

img_1699

เจดีย์วัด วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา ได้รับอิทธิพลศิลปะระฆังคว่ำ แบบลังกา (ภาพจาก google)

ช่วงปีพ.ศ. 2298 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ส่งคณะธรรมฑูตชุดที่ 2 เผื่อผลัดเปลี่ยนกับชุดแรก นำโดย พระวิสุทธาจารย์ และ พระวรญาณมุนี เมื่อเดินทางถึงเมืองท่าตรินโคมาลีแห่งลังกาทวีป ได้ทราบว่าพระอุบาลีถึงแก่มรณภาพเสียแล้วภายในกุฏิวัดบุปผาราม (วัดมัลวัตเต) เมืองแคนดี้ โดยปัจจุบันยังมีรูปหล่อพระอุบาลีตั้งอยู่ที่วัดแห่งนี้ เพื่อให้คนกราบไหว้ และเป็นเกียรติต้องความดีของท่านที่มีอิทธิพลทำให้พุทธศาสนางอกงามในศรีลังกากว่า 200 ปีจนถึงปัจจุบัน 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-31

รูปหล่อ พระอุบาลี ณ วัดบุปผาราม เมืองแคนดี้ ศรีลังกา

img_1702

รูปเหมือนพระอุบาลี ทางรัฐบาลศรีลังกา มอบให้ไทย ณ พิพิธภัณฑ์พระอุบาลี วัดธรรมาราม พระนครศรีอยุธยา (ภาพจาก Google)

.

ที่มาของวัดทีปทุตตมาราม สำคัญกับราชวงศ์จักรีและคนไทยอย่างไร 

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงเป็นองค์สุดท้องในจำนวนโอรสธิดาทั้ง 6 ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นราชสกุลชุมสาย ณ อยุธยา)และหม่อมน้อย (บุตรีพระยาราชมนตรี (ภู่) ต้นตระกูลภมรมนตรี) เมื่อครั้งพระชนนม์ 45 พรรษา ได้ลาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯและเจ้านายผู้ใหญ่ ออกผนวชในวันที่ 1 พ.ย. 2439 ที่วัดศรีสุพุทธิมหาวิหาร เมืองวาสกาดูว่า ประเทศศรีลังกา โดย Ven. Rajguru Sri Subhuti Nayaka เจ้าอาวาส  ได้ชื่อว่า “พระชินวรวงศ์” ก่อนหน้าที่ท่านบวช ท่านถวายงานรับใช้สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯด้านการฑูตและการติดต่อกับต่างชาติเป็นอย่างดี เพราะเคยศึกษาที่อังกฤษ แล้วยังเชี่ยวชาญเรื่องวิศวกรรมอีกด้วย แต่ด้วยเหตุที่ประพฤติไม่พอพระราชหฤทัย รวมถึงปัญหาต่างๆที่สะสมมา ทำให้ท่านตัดสินใจลาผนวช (ประวัติของท่านโดยละเอียด ลองค้นหาอ่านกันอีกทีนะครับ)

 prince-priest-gumara-hamuduruvo1   prince-priest-gumara-hamuduruvo2

พระชินวรวงศ์ ได้รับความนับถือจากชาวสิงหลเป็นอย่างมาก รวมถึงไปแสวงบุญที่อินเดีย ยังเป็นผู้ที่มีส่วนขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุจากสถูปโบราณที่เป็นหลักเสาอโศก ท่านทำหนังสือยืนต่อ เควิสเคอสัน อุปราช (Viceroy) แห่งอินเดีย ว่าในฐานะที่กษัตริย์ไทยทรงเป็นอุปถัมภกทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเรื่อยมา เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเพื่อทรงแจกพระบรมธาตุแก่ประเทศต่างๆต่อไป และพระบรมสารีกธาตุสำคัญนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดให้บรรจุอยู่ที่วัดสระเกตุฯ หรือภูเขาทองนั้นเอง และบางส่วนยังประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงเดลี ประเทศอินเดีย รวมถึงวัดต่างๆในศรีลังกา

… ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน รวมถึงความชำนาญทางด้านภาษา ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติที่มายึดครองดินแดนในอินเดียและศรีลังกา มีทั้งชาวเยอรมัน, ฮอลันดา และชาวสิงหล ขอให้ท่านทำการบรรพชาอุปสมบทให้ สุดท้ายชาวเมืองโคลอมโบได้อาราธนาท่านกลับจากอินเดียมาจำวัดทีปทุตตมาราม ณ โคลอมโบ ศรีลังกา ท่านได้พัฒนาวัดเรื่อยมา ได้รับการสถาปนาจากคณะสงฆ์เมืองลังกาให้มีสมณศักด์เป็นเถรนายกจังหวัดนครโคลัมโบ และยกให้เป็นเจ้าอาวาสวัดทีปทุตตมาราม ถือว่าที่นี่คือวัดไทยวัดแรกและวัดเดียว ณ เมืองโคลอมโบ ศรีลังกา และในปีพ.ศ.2451 พุทธสถานที่สำคัญที่ท่านสร้างเอาไว้คือ “รัตนเจดีย์” ศิลปะผสมผสาน ทั้ง ไทย, อินเดีย, ศรีลังกา และพม่า บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาต่อไป

 prince-priest-gumara-hamuduruvo4

จนเมื่อพ.ศ.2454 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสวรรคต ทำให้พระชินวงศ์ต้องเดินทางกลับมาถวายพระเพลิงที่กรุงเทพฯ ในวันที่ท่านจากเมืองโคลอมโบ สร้างความโศกเศร้าแก่ชาวเมืองเป็นอย่างมาก เพราะรู้ว่าท่านคงไม่กลับมาอีก และสุดท้ายเมื่อท่านถึงไทย ได้ถูกเจ้านายผู้ใหญ่ขอให้ลาผนวช ท่านต้องจำใจลาสมณเพศ แล้วได้ทำงานแปลอักษรและงานเขียน ชีวิตปั้นปลายของท่านอยู่อย่างลำบาก ต่างจากชีวิตที่รุ่งโรจน์ในวัย 30 กว่าๆ หรือแม้แต่การได้รับการยอมรับเมื่อครั้งเป็นพระสงฆ์ก็ตาม ท่านสิ้นพระชนม์อย่างยากไร้ ไม่มีบุตรธิดาหรือญาติที่ไหน ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะพระชนมายุ 84 พรรษา

prince-priest-gumara-hamuduruvo3

ขอบคุณภาพจากหนังสือประวัติย่อ พันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ และ Pantip

ถ้าท่านอ่านมาถึงจุดนี้คงเข้าใจว่า ทำไมวัดทีปทุตตมาราม (Dipaduttamarama Purana Thai Rajamaha Viharaya)  ถึงได้สำคัญต่อราชวงศ์จักรีและคนไทยเป็นยิ่งนัก 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-2

24 ม.ค. 2482 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จเยือนกรุงโคลอมโบ ศรีลังกา

 

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2482 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระชนมายุ 13 พรรษา ขึ้นครองราชย์ได้ 5 ปี (ยังทรงประทับอยู่ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ) พระองค์พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุเพียง 11 พรรษา และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จเยือนกรุงโคลอมโบ ศรีลังกา อย่างเป็นทางการ เมื่อเสด็จเยือนที่วัดแห่งนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงปลูก “ต้นจันทร์สีแดง” (Red Sandal Wood) ไว้เป็นที่ระลึกถึงอีกด้วย 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-7

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงปลูกต้นจันทร์สีแดง ณ วัดทีปทุตตมาราม โดยพระราชชนนีและพระราชอนุชา ทอดพระเนตรอยู่ด้านหลัง

11 ปีต่อมา ในวันที่ 15 มี.ค. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุ 22 พรรษา ณ เวลานั้นทรงครองราชย์ได้เพียง 4 ปี พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนกรุงโคลอมโบ ศรีลังกา อย่างเป็นทางการ ทั้ง 2 พระองค์เสด็จเยือนที่วัดแห่งนี้ และในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกต้นไม้ “ต้นตะกริม” สายพันธุ์ศรีลังกา (Madara) เคียงข้างต้นไม้ของพระเชษฐาที่เคยปลูกไว้ และพระองค์ก็เคยทอดพระเนตรอยู่ข้างๆเมื่อครั้งเสด็จเยือนศรีลังกาในครั้งแรก (น่าเสียดายที่ทางวัด ไม่มีภาพขณะพระองค์ทรงปลูกต้นไม้)

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-5

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯเยือนศรีลังกา ปี 2493

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-6

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-1

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-3 dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-4

   dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-8

.

หลังจากนั้น พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เมื่อเสด็จมาเยือนศรีลังกา ต้องเสด็จมา ณ วัดทีปทุตตมาราม ดังนี้ (เรียงตามปี)

วันที่ 21-28 มิถุนายน 2532 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 

วันที่ 19–24 มกราคม 2536 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-10

วันที่ 23-29 สิงหาคม 2542 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ 28 ส.ค.2542 ทรงปลูก “ต้นจันทร์” (Sandal Wood) ถัดจากต้นในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกไว้

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-9

วันที่ 6 มีนาคม 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

วันที่ 19 กันยายน 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูก “ต้นยางนา” (Naa) ก่อนถึงต้นไม้ของในหลวงรัชกาลที่ 8

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-29

อาคารอเนกประสงค์ วัดทีปทุตตมาราม ณ โคลอมโบ ศรีลังกา

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-19

ลาดจอดรถภายในวัด สังเกตเห็นต้นไม้ของในหลวงอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สูงกว่าต้นอื่นๆ

ผมเดินทางมาถึงวัดทีปทุตตมาราม อยู่ในย่าน Colombo 13 วัดดูสะอาดสะอ้าน มีโรงเรียนอยู่ใกล้กับวัด เราจึงจะยินเสียงนักเรียนตลอดเวลา เมื่อเข้ามาสู่วัดจะเป็นลานจอดรถขนาดพอดี ถัดไปคือ อาคารอเนกประสงค์ ทางด้านซ้ายมีจะเห็น “รัตนเจดีย์” สภาพสมบูรณ์มาก ถึงจะผ่านมาแล้วกว่า 100 ปี เพราะได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากไทยเสมอมา ถัดจากรัตนเจดีย์คือ พระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในวิหารตกแต่งด้วยศิลปะปูนปั้น เล่าถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า และภาพฝาผนังเกี่ยวกับวัดแห่งนี้ โดยมีภาพวาดของ “พระชินวงศ์” ขณะรับอุปสมบทให้เราได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน 

โดยทุกๆปีในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าให้เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโคลอมโบ เป็นตัวแทนของพระองค์เพื่อทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน และวันที่ 3 มี.ค.2553 กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้บูรณะยอดฉัตรรัตนเจดีย์ หลังการติดตั้งปล้ว ได้มีพิธีสมโภชยอดฉัตรรัตนเจดีย์แห่งนี้

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-23

รัตนเจดีย์ ณ วัดทีปทุตตามาราม

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-24

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-33

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-35

พระพุทธไสยาสน์ ภายในวิหาร

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-32

1 พ.ย. 2439 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เข้าอุปสมบท ที่วัดศรีสุพุทธิมหาวิหาร เมืองวาสกาดูว่า ประเทศศรีลังกา

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-36

ศิลปะปูนปั้นภายในวิหาร

ผมได้เยี่ยมชมต้นไม้ที่ในหลวงภูมิพล ทรงปลูกไว้เมื่อ 66 ปีที่แล้ว พร้อมกับถ่ายรูปเพื่อเป็นที่ระลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และผมมีความหวังว่า เมื่อคนไทยที่เดินทางมาเที่ยวเมืองโคลอมโบ ถ้าคุณได้อ่านเรื่องราวที่ผมเขียนอยู่ดี ผมก็อยากให้ทุกท่านได้มาเยือนวัดแห่งนี้ ดั่งที่กษัตริย์ไทย พระสงฆ์ไทย และคนไทย ได้ทำนุบำรุงวัดแห่งนี้มายาวนานกว่า 100 ปี …​ จากลานจอดรถขึ้นมาบริเวณทางเข้าพระวิหาร จะมองเห็นต้นไม้ที่ล้อมรั้วไว้อย่างดี ต้นเล็กๆทางขวามือคือ “ต้นยางนา” ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อปีพ.ศ.2557 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-37

ถัดมาทางซ้ายมือ จะพบกับต้นจันทร์สีแดง ถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดต้นหนึ่งในบริเวณนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงปลูกไว้เมื่อปีพ.ศ.2482 เมื่อครั้งเสด็จเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยอายุที่ยาวนานกว่าต้นอื่นๆ ทำให้มีลำต้นที่สูงเด่นกว่าต้นอื่นๆด้วยเช่นกัน

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-14

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-13

ต้นไม้ที่มีพุ่มไม้ใหญ่ ขนาดไม่สูงมากนัก แต่ให้ร่มเงาได้ดี อยู่ถัดจากต้นไม้ของในหลวงอานันทมหิดลคือ “ต้นตะกริม” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปลูกไว้เคียงข้างต้นไม้ของพระเชษฐา เมื่อเราได้มายืนตรงนี้ ทำให้เรานึกถึงภาพเมื่อครั้งพระองค์เสด็จมาเยือนศรีลังกาครั้งแรก พระองค์ทอดพระเนตรพระเชษฐาทรงปลูกต้นไม้ในบริเวณนี้ แล้ว 11 ปีต่อมา พระองค์ก็ทรงทำเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงว่าครั้งหนึ่งเคยเสด็จมาเยือน ณ​ วัดทีปทุตตมาราม

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-16

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-15

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-22

พระสงฆ์ในวัดทีปทุตตมาราม พาเราเยี่ยมชมวัดและอธิบายถึงความเป็นมาของวัด ภาพถ่ายใต้ต้มไม้ของในหลวงภูมิพล รัชกาลที่ 9

สุดท้าย ถัดจากต้นไม้ของในหลวงภูมิพล คือ “ต้นจันทร์” สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อปีพ.ศ. 2542 ลักษณะลำต้นสูง ขนาดไม่ใหญ่มากนัก

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-17

“ต้นจันทร์” สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อปีพ.ศ. 2542

หลังจากนั้นมีพระสงฆ์รูปหนึ่งได้มาพูดคุยกับเรา แล้วท่านยินดีที่จะเปิดห้องชั้น 2 ของอาคารอเนกประสงค์ เพื่อทำความเคารพพระบรมสารีรกธาตุ และชมภาพต้นภาพฉบับเมื่อครั้งในหลวงรัชกาลที่ 8 และ 9 รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ที่เคยเสด็จมาศรีลังกา … เราเยี่ยมชมภาพพระฉายาลักษณ์หลากหลายภาพ ย้อนให้นึกถึงวันวานที่พระองค์เคยเสด็จมาเยือน ณ ที่แห่งนี้ ท่านทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทั้งในไทยและต่างประเทศ มีพระมหากรุณาธิคุณต่อพระสงฆ์และประชาชนเรื่อยมา 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-27

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-28

ชมภาพต่างๆชัดๆ จากด้านบนที่ผมเขียนไว้นะครับ

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-25

พระฉายาลักษณ์ ณ ชั้น 2 อาคารอเนกประสงค์ วัดทีปทุตตาราม

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-26

ภาพถ่ายพระชินวงศ์

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-21

ภาพถ่ายจากบนอาคาร ตรงกลางสูงที่สุดคือ ต้นจันทร์สีแดง ในในหลวงอานันทมหิดล ถัดมาทางซ้ายคือ ต้นตะกริม ในในหลวงภูมิพล

ตลอด 66 ปี ต้นตะกริม ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอุลยเดช ทรงปลูกเมื่อครั้งมาเยือนศรีลังกา ครั้งที่ 2 จะยืนหยัดเคียงคู่ต้นไม้ของพระเชษฐา และต้นไม้ของพระราชธิดาทั้ง 2 พระองค์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงในคุณงามความดีพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ไทยในแผ่นดินศรีลังกาแห่งนี้ … ตลอดไป 

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-20

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-12

66 ปี ต้นไม้ของพ่อยังงดงาม

dipaduttamarama-king-of-siam-colombo-18

เก็บใบไม้ไว้เป็นที่ระลึกครับ

.

ชมคลิปวิดีโอ “ต้มไม้ของพ่อ” ณ วัดทีปทุตตมาราม โคลอมโบ ศรีลังกา

.

ใครที่สนใจมาสักการะหรือเยี่ยมเยือนวัดทีปทุตมาราม ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา สำหรับที่อยู่ของวัดคือ

Dipadutthamarama Purana Thai Rajamaha Viharaya

Kotahena, Colombo13

Colombo, Sri Lanka

สุดท้ายผมขอขอบคุณบริษัททัวร์ P&K Travel Design สำหรับทริปศรีลังกา และคำปรึกษาดีๆตลอดการเดินทาง … หากใครสนใจจัดทริปตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือไปเป็นหมู่คณะ ติดต่อที่ http://www.pandktraveldesign.com/ หรือ โทร 026832929

0m012249b75b11765f64697b15132135753d6f316b715f2e1a102e203d212e3a2d39773530656168593b7d

และติดตามรีวิวท่องเที่ยว “ศรีลังกา” เมืองอื่นๆ กดติดตามทุก Social … ผมขอรับรองว่า “ศรีลังกามีอะไรมากกว่าที่คุณคิด”

ติดตามเพจผมได้ที่

Facebook: https://www.facebook.com/NightPhoominOfficial

Instagram: www.instagram.com/nightphoomin

Twitter: www.twitter.com/nightphoomin

nuwara-eliya-sri-lanka-nightphoomin

ศรีลังกามีอะไรมากกว่าที่คิด ภาพนี้ถ่ายที่เมือง Nuwara Eliya ภาคกลางของศรีลังกา อาหาศหนาวเย็นทั้งปี

ศรีลังกา, โคลอมโบ, colombo, sri lanka, Dipadutthamarama Purana Thai Rajamaha Viharaya, วัดทีปทุตตมาราม, ต้นไม้ของพ่อ, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุยเดช, ในหลวง, รัชกาลที่ 9,ท่องเที่ยว,travel, รีวิว, pantip, พันทิป, review, blogger, บล็อกเกอร์, บล็อกเกอร์ผู้ชาย,บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว, travel blogger

 



I'm the creator and producer of a tv show. Also, I work on social media marketing for artists, products and special projects. I love writing- photography and enjoy sharing them on my social media. I like the hit music, good movies, exercise and traveling. This is my blog. I hope you will enjoy it.