จากเมืองที่ต่างชาติยกย่องให้เป็น “ไข่มุกแห่งเอเชีย” กลับกลายมาเป็น “นรกบนดิน” ที่น่ากลัว เดินทางย้อนไปสู่จุดตกต่ำที่สุดของประเทศกัมพูชา โดยการไปเที่ยวชม ทุ่งสังหารและคุกโตลสเลง กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
รีวิว: ทุ่งสังหาร-คุกโตลสเลง แบบ Travel Vlog
(คลิกชม Youtube)

เดินทางสู่กรุงพนมเปญ
ข้อมูลการท่องเที่ยว ทุ่งสังหาร-คุกโตลสเลง
รีวิวที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ เป็นการเดินทางท่องเที่ยว พนมเปญ-โฮจิมินห์ ทริป 5 วัน 4 คืน เราเริ่มวันแรกโดยการบินตรงไปยังสนามบินกรุงพนมเปญในตอนเช้า หลังจากซื้ออินเตอร์เนทซิมการ์ดบริเวณทางออกของสนามบิน ราคาถูกมากแค่ 70 บาท (คลิก >>> รีวิวซื้ออินเตอร์เนทซิมการ์ดกัมพูชา) เราก็หารถแท๊กซี่แบบครึ่งวันหรือเต็มวัน เพื่อเดินทางไปยังทุ่งสังหาร ที่ต้องเดินทางไปทางใต้ของเมืองราว 10 กม.

ถึงแล้วครับ สนามบินกรุงพนมเปญ มาซื้อซิมการ์ด

มองหาแท๊กซี่
ซึ่งราคาแท็กซี่แบบครึ่งวัน ไปรับที่สนามบิน แล้วไปทั่งสังหาร+คุกโตลสเลง ราวๆ 4-5 ชม. ราคากลางอยู่ที่ $40 นอกจากนี้ยังมีตุ๊กตุ๊กที่ให้บริการราคาย่อมเยาว์กว่า แต่ผมไม่แนะนำ เพราะเดินทางไกล อากาศร้อนและมีฝุ่นควันครับ
ก่อนที่เราจะไปเยี่ยมชมทุ่งสังหารกับคุกโตลสเลง เรามาทำความเข้าใจเหตุการณ์อันโหดร้ายที่ถือว่าเป็นยุคตกต่ำที่สุดของประเทศกัมพูชา จากสมญานามที่ชาวต่างชาติยกให้เมืองนี้คือ “ไข่มุกแห่งเอเชีย” กลับกลายเป็น นรกบนดินที่น่ากลัว และนี้คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เหี้ยมโหดที่สุดในเอเชีย … ย้อนไปเมื่อพุทธศักราช 2518-2522 ตลอด 4 ปีที่เขมรแดงเรืองอำนาจได้ฆ่าคนกัมพูชาด้วยกันเองกว่า 2 ล้านคน โดยสมัยนั้นประชากรทั้งประเทศราวๆ 7 ล้านคนเท่านั้น ผู้นำของกลุ่มเขมรแดงคือนายพอล พต ที่มีความเชื่อทางการเมืองแบบคอมมิวนิตส์ซ้ายจัด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตอนที่เขาเดินทางไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากเขมรแดงก่อรัฐประหารและยึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จในวันที่ 7 เมษายน 2518 พวกเขาได้สั่งฆ่าราชวงศ์ กลุ่มปัญญาชน ร่วมถึงชาวต่างชาติ ที่พวกเขาคิดแล้วว่าจะเป็นภัยแก่กลุ่มตัวเอง โดยขับไล่คนออกจากเมืองหลวงไปอยู่ชนบท ปิดประเทศเพื่อปรับเศรษฐกิจเป็นแบบสังคมนิยมพึ่งตัวเอง กลับคืนสู่ประเทศเกษตรกรรมแบบเบ็ดเสร็จ โดดเดี่ยวประเทศไม่พึ่งต่างชาติ ยกเลิกระบบธนาคาร เงินตรา ปิดโรงพยาบาลและโรงเรียน ประชาชนต้องทำงานตลอด 9 วัน วันละ 11 ชม. ส่วนวันที่ 10 ต้องฟังปราศัยของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ใครป่วย ทำงานช้า โดนลงโทษเอาถึงชีวิต ฉะนั้นคุกโตลสเลงคือสถานที่คุมขับนักโทษที่กลุ่มเขมรแดงเห็นว่าพวกเขาเป็นศัตรู เป็นสถานที่ทรมานและเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยม และทุ่งสังหารก็คือสถานที่ที่หลอกนักโทษมาฆ่าหรือฆ่ามาแล้ว นำมาฝั่งที่นี้ นอกจากนี้ตามเมืองอื่นๆก็มีหลุมฝั่งศพชาวกัมพูชาในช่วงสงครามเขมรแดงอีกหลายแห่งครับ
จากสนามบินผ่านถนนราดยางอย่างดี แต่จะมีการจราจรที่ติดขัดบ้างจากรถจักรยานยนต์ เราใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็มาถึง ทุ่งสังหาร หรือ Killing Fields ซึ่งในภาษาเขมรเรียกว่า Choeung Ek (จึงเอ๊ก) เราเดินผ่านประตูเพื่อเข้าไปซื้อตั๋วราคา $6 พร้อมรับ Audio Tour เพื่อฟังคำบรรยายตามจุดต่างๆ ที่นี้เปิดเวลา 7.30-17.30น. ทุกวันครับ

ค่าตํ่ว รวม Audio Your $6
จากทางเข้าเป็นถนนมุ่งตรงไปสู่อนุสรณ์สถานแห่งความทรงจำทุ่งสังหาร กะโหลกมนุษย์ราว 8,000 ศพ ผ่านการชันสูตรแล้วว่า เป็นเพศชายหรือหญิงและเสียชีวิตด้วยสาเหตุอะไร โดยจะมีจุดสีและคำอธิบายประกอบอยู่ รวมถึงการจัดแสดงอุปกรณ์ในการทำทารุณกรรมอีกด้วย และด้านหน้าอนุสรณ์สถานมีข้อความให้เราไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตมากกว่า 2 ล้านคน ถูกสังหารภายใต้อำนาจของนายพอล พต ผู้นำเขมรแดง
ถัดมาทางขวามือคื ทางเดินให้เราเยี่ยมชมตามจุดต่างๆ เพื่อย้อนอดีตถึงความโหดร้ายที่เคยเกิดขึ้นในบริเวณนี้ รวมถึงกลุ่มฝั่งศพที่อัดแน่นถึง 450 ศพ ถือว่าเป็นหลุมที่ใหญ่ที่สุด และรอบๆบริเวณนี้ยังเห็นหลุมอยู่มากมาก ซึ่งแสดงว่าเป็นหลุมฝั่งศพที่ถูกขุดแล้วนั้นเอง

450 ศพ เคยอัดแน่นอยู่ในหลุมนี้

สร้อยข้อมือ ไว้อาลัยแก่ผู้ที่เสียชีวิต
ส่วนด้านหลังเป็นแอ่งน้ำ ที่ให้นักท่องเที่ยวไปหยุดพักแล้วใช้เวลานี้ คิดถึงเหตุการณ์ที่โหดร้ายของทุ่งสังหารแห่งนี้ รวมถึงต้นไม้ที่น่าเศร้าสลดต้นหนึ่งของโลก เพระาเป็นต้นไม้ที่เอาไว้สังหรณ์เด็ก โดยการจับขาแล้วฟันกับต้นไม้ ส่วนศพก็โยนลงหลุมข้างๆกัน โดยหลุมนี้จะมีแต่ผู้หญิงและเด็ก ซึ่งแน่นอนว่าเด็กๆเหล่านั้นคือลูกของเธอ แล้วผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ตายในหลุมนี้ จะถูกข่มขืนแทบทั้งสิ้นครับ

บริเวณแอ่งน้ำและทางเดินด้านหลัง ให้เราหยุดพักผ่อน

ต้นไม้สังหาร กับหลุมศพผู้หญิงและเด็ก
ถัดออกมาไม่ไกลจากต้นไม้สังหรณ์ คือต้นโพธิ์ต้นใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญคือ เอาไว้แขวรลำโพงกระจายเสียง เพื่อเปิดเพลงปลุกใจกลับเสียงร้องโหยหวนของผู้ที่ถูกพามาสังหรณ์ที่นี้ครับ นอกจากนี้ตามบริเวณพื้นยังมีซากกระดูกมนุษย์ที่กองอยู่ตามพื้นอีกด้วย
จากทุ่งสังหาร เราก็เดินทางเข้าเมืองพนมเปญอีกหน่อย จุดหมายปลายทางคือ “คุกโตลสเลง” หรือปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โตลสเลง มาถึงที่นี้เราจะเจอกันนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากมาย ทุกคนต่างมาเยี่ยมเยือนประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ค่าเข้า $3 ส่วนเด็กเข้าฟรีครับ เปิดเวลา 7.00-17.30น.
คุกโตลสเลง หรือชื่อเรียกย่อๆว่า S21 หรือ Security Office 21 เคยเป็นโรงเรียนมัธยมก่อนที่จะกลายเป็นคุกที่คุมขังศัตรูทางความคิดของกลุ่มเขมรแดง มีอาหารใหญ่ 2 หลังไว้คุมนักโทษ ที่เคยล้อมรอบด้วยลวดหนามไฟฟ้าเพื่อกันการหลบนี้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ถูกส่งมาที่นี้คือ ปัญญาชนหรือผู้มีความรู้ เช่น ราชวงศ์,หมอ,อาจารย์,อัยการ,ทหาร, วิศวกร, ช่าง หรือแม้แต่คนที่ใส่แว่นก็ถูกสงสัยว่ามีความรู้ จะถูกส่งมาคุมขังในนี้แห่งนี้ คุกโตลสเลงมีคนผ่านเข้ามามากกว่า 15,000 คน และมีผู้รอดชีวิตเพียง 3 คนเท่านั้น
อาคารแรกซ้ายมือจากทางเข้า คือห้องคุมขังนักโทษ ห้องหนึ่งจะขังราว 50-60 คน โดยมีโซ่ตรวนล่ามไว้ … คุกแห่งนี้มีกฏเหล็กอยู่ 10 ข้อ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องห้ามโกหก ห้ามเสแสร้ง ห้ามต่อต้าน อย่าทำตัวโง่ๆ เวลาผู้ขุมถามต้องตอบทันทีห้ามคิด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกฏที่รู้ๆกันอีกมากมาย แล้วใครที่ถูกขุมขังที่นี้ จะได้อาหารเพียงข้าวต้ม 3 ช้อนเท่านั้น บางมื้อก็ไม่มี บางคนต้องแอบกินแมลงประทังชีวิตซะด้วยซ้ำ
ส่วนอาคารถัดไป ด้านล่างจัดแสดงภาพถ่ายนักโทษมากมายที่ถูกทำประวัติก่อนที่จะถูกสอบสวน และเกือบทั้งหมดถูกทรมานและสังหาร ณ ที่แห่งนี้ … ภาพที่น่าสลดที่สุดคือ แววตาของหญิงที่อุ้มลูก โดยมีเครื่องช๊อตไฟฟ้าจ่อที่หัว เธอคือ “จันกึมซรุน ซาง” เป็นเขมรเชื้อสายจีนและเป็นภรรยาของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลลอนนอล (คือรัฐบาลก่อนถูกนายพอล พต ผู้นำเขมรแดงก่อรัฐประหาร) และแน่นอน เธอและลูกถูกสังหารที่นี้ การฆ่านักโทษที่ถูกเชื่อว่าเป็นศัตรูกับกลุ่มเขมรแดง ส่วนใหญ่แล้วจะฆ่าทั้งโคตร เพราะพวกเขาเชื่อว่า จะได้ไม่มีทายาทย้อนกลับมาแก้แค้นพวกเขานั้นเอง

ภาพของนักโทษที่ถูกถ่ายเพื่อทำประวัติและสอบสวน เกือบทั้งหมดถูกสังหารที่นี้
อาคารถัดมา คือห้องเรียนที่ถูกดัดแปลงเป็นขังเล็กๆที่ก่ออิฐและไม้ เพื่อขังนักโทษสำหรับ 4 คน ถัดไปส่วนท้ายของคุกโตลสเลง เป็นอาคารในส่วนของพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงภาพและอุปกรณ์การทรมานนักโทษ ดูแล้วช่างโหดเหี้ยมเกินกว่าที่มนุษย์จะจินตนาการได้ ส่วนทางออกจัดแสดงโกลกของผู้เสียชีวิต และมีเจดีย์สีทองให้เราสงบนิ่งไว้อาลัยแก่ผู้ที่จากไปครับ
ก่อนที่เราจะกลับกัน เราได้เจอ ‘ชุม เมย์’ 1 ในผู้รอดชีวิตจากการเป็นนักโทษในคุกโตลเลง เขาเขียนหนังสือบอกเล่าเรื่องราวอันโหดร้ายที่เข้าต้องพบเจอและเขารอดมาได้จากการที่เขามีความสามารถที่เป็นประโยชน์ต่อเขมรแดง และในปัจจุบันเขาเดินทางมาพบนักท่องเที่ยวเกือบทุกวัน และยังเป็นพยานคนสำคุญในคดีการไตร่สวนเอาผิดผู้นำเขมรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ครับ

ชุม เมย์ 1 ในผู้รอดชีวิตจากการเป็นนักโทษในคุกโตลสเลง
ตลอด 4 ปีในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ ฆ่าประชากรในประเทศไปกว่า 2 ล้านคน ซึ่งในยุคนั้นมีประชากรเพียง 7 ล้านคนเท่านั้น หมายความว่า ชาวเขมรแดงเข่นฆ่าขาวเขมรด้วยกันเอง 1 ใน 4 ของประเทศเลยทีเดียว และประวัติศาสตร์ยังสอนให้คนรุ่นหลังรู้ว่า ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกขอความสงบสุขหรืออำนาจอย่างแท้จริงครับ

อนุสรณ์สถานโตลสเลง
รีวิวหน้าเราจะพาไปเที่ยวภายในเมืองพนมเปญบ้าง ถือแม้ว่าที่นี้จะบอบช้ำจากสงครามเมื่อ 40 ปีก่อน แต่ในปัจจุบันเมืองนี้ได้พัฒนาไปมาก ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ รองจากเมื่อเสียมเรียบ, นครวัดนครธม
Follow Me:
https://www.facebook.com/NightPhoominOfficial
Instagram: @nightphoomin
Twitter: @nightphoomin