น้ำตาลาว… พิธีถวายเพลิงพระบรมศพครั้งสุดท้ายแห่งกษัตริย์ลาว ?? (เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์)

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เพราะบทความนี้ผู้เขียนไม่มีเจตนาสร้างความแตกแยก แต่ผู้เขียนนำข้อมูลต่างๆที่อ่านจากหนังสือและอินเตอร์เนท นำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ แล้วเมื่อท่านไปท่องเที่ยวประเทศลาวหรือเมืองหลวงพระบาง ท่านจะมีมุมมองการท่องเที่ยวที่ลึกซึ้งและสนุกขึ้นครับ

*** เที่ยวรู้ลึก เรื่องราวสนุกๆ ติดตามเพจ >>> https://www.facebook.com/NightPhoominOfficial/

Luang Prabang หลวงพระบาง nightphoomin 92

พระราชวังหลวงพระบาง ปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์

Luang Prabang หลวงพระบาง nightphoomin 22

พระบรมโกศ (องค์กลาง) ราชรถใช้ครั้งสุดท้ายปี 1961 ในพิธีถวายพระเพลิงเจ้าศรีสว่างวงศ์ จัดแสดงอยู่ภายในโรงเมี้ยนโกศ วัดเชียงทอง ส่วนโกศองค์ด้านหน้า ใช้กับพระเจ้าอา เจ้าเพรชรัตน์

การมาเที่ยวเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ต้องมาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่าง พระราชวังหลวงพระบาง และวัดเชียงทอง ซึ่ง 2 สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งความทรงจำรำลึกถึงพระกษัตริย์และพระวรวงศานุวงศ์แห่งชาติลาวที่เคยปกครองดินแดนแห่งนี้มายาวนานถึง 704 ปี ก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในช่วง 40 ปีหลัง

sisavang-vatthana-5

สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรลาว ปกครองปี 1959-1975

ความทรงจำที่เลือนลาง

“มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คนลาวจะพูดถึงกษัตริย์ลาวในประเทศของตนเอง” 

คำบอกเล่าของหญิงชราที่ผมได้พูดคุยเมื่อครั้งไปเที่ยวหลวงพระบาง 

แล้วเธอยังบอกอีกว่า “ตอนเด็กๆเธอเห็นเจ้ามหาชีวิตเสด็จออกทางประตูวังทางทิศเหนืออยู่เสมอๆ” 

นั้นคือความทรงจำเล็กๆต่อสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาว พระองค์ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 29 ตุลาคม ปี 1959 ต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ เสด็จสวรรคตจากอาการป่วยอันเนื่องมาจากการได้รับความกระะทบกระเทือนใจรุนแรงจากการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของนายกรัฐมนตรีผุย ชะนะนิกอน (สมัยนั้น) ซึ่งทำให้แผนการปรองดองแห่งชาติถูกทำลายลง 

สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ กษัตริย์อาณาจักรลาว ครองราชย์ปี 1904-1959 (พระบิดาของเจ้าศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์ลาวองค์สุดท้าย)

last laos king and thai king

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาว ทรงร่วมเป็นประธานในพระราชพิธีเปิดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมระหว่างไทย-ลาว ณ กลางแม่น้ำโขง เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510

last laos king and thai king 2

สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (ไม่ทราบปี)

Last laos king and queen 2

สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนากับสมเด็จพระราชินีอัครมเหสีคำอุ่น

สืบเนื่องมาจากยุคล่าอาณานิคม ลาวเป็นส่วนหนึ่งในประเทศอินโดจีนที่ถูกครอบครองโดยฝรั่งเศส ช่วงปลายปี 1953 จนถึงปี 1954 ฝรั่งเศสต้องเผชิญกับสงครามรอบด้านในอินโดจีน ทำให้เสียฐานที่มั่นไปหายแห่ง จนถึงสงครามในยุโรปที่ยืดเยื้อมานาน ทำให้ฝรั่งเศสถูกปีบให้เข้าสู่การเจรจาสงบศึก ซึ่งสนธิสัญญาเจนีวาในปี 1954 ใจความสำคัญส่วนหนึ่งคือ ฝรั่งเศสต้องมอบเสรีภาพให้แก่สามชาติอินโดจีน ได้แก่ ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม โดยถอนทหารออกจากอินโดจีนภายใน 300 วัน

การประชุมเจนีวา ปี 1954

หลังจากสนธิสัญญาเจนีวาจบลง ดูเหมือนประเทศในกลุ่มอินโดจีนจะพยายามจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารบ้านเมืองของตัวเอง หลังจากถูกฝรั่งเศสปกครองมาหลายสิบปี แต่เหตุการณ์กลับยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อ กัมพูชา, เวียดนาม และลาว เป็นประเทศหุ่นเชิดระหว่างฝ่ายทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกากับฝ่ายคอมมิวนิสต์จากโซเวียตและประเทศจีน ซึ่งอเมริกาดำเนินนโยบายต่อต้าลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเพ็งเล็งประเทศในกลุ่มอินโดจีนเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าลัทธิคอมมิวนิสต์ลุกลามขยายตัวมาจากประเทศจีนเป็นโดมิโน

นักวิชาการเชื่อกันว่า อเมริกาทุ่มงบประมาณกว่าพันล้านดอลล่าร์เพื่อแทรกแซงการเมืองในกลุ่มประเทศอินโดจีน และมีทหารอเมริกันเข้าสู่สงครามมากกว่า 3 ล้านคน โดยชักนำพันธมิตรเสรีทุนนิยมเข้าสู่สงครามอย่าง ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และเกาหลี ส่วนเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์อย่าง ไทย และฟิลิปปินส์ ก็กลายเป็นฐานทัพของอเมริกา ซึ่งในประเทศลาวโดยเฉพาะทางภาคเหนือเป็นภูมิประเทศเชื่อมต่อไปจีน ทำให้อาวุธสงครามถูกลำเลียงต่อไปถึงเวียดนามและกัมพูชา เฉพาะหลายพื้นที่ในบริเวณนี้จะเกิดสงครามขึ้นบ่อยครั้ง มีทหารม้งรับจ้างจาก CIA สหรัฐฯ ร่วมรบกับคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้เชื่อว่าประเทศลาวถูกทิ้งระเบิดมากกว่า 3 ล้านตัน 

*หมายเหตุ: ผู้เขียนสรุปแค่ใจความสำคัญเท่านั้น ถ้าใครสนใจเรื่องราวสงครามในลาว ค้นหาคำว่า “สงครามกลางเมืองลาว” หรือ “Secret War in Laos”

peter-alan-lloyd-BACK-secret-war-laos

เครื่องบินสหรัฐฯทิ้งระเบิดในสงครามลาว

hmong-secretWarsoldiers

ทหารม้งรับจ้าง CIA สหรัฐฯ รบในพื้นที่ลาว

มหารม้งในสงครามลาว หรือ Secret War

An-Air-America-C-123-delivering-supplies-and-picking-up-Laotian-troops-at-Long-Tieng.-RLW

เครื่องบินลำเลียงของสหรัฐฯ

War and Conflict, The Vietnam War, near Khe Sanh, South Vietnam, pic: circa 1968, American soldiers close to the Laos border with a board reminding them of their long distance from home (Photo by Rolls Press/Popperfoto/Getty Images)

War and Conflict, The Vietnam War, near Khe Sanh, South Vietnam, pic: circa 1968, American soldiers close to the Laos border with a board reminding them of their long distance from home (Photo by Rolls Press/Popperfoto/Getty Images)

เชื้อพระวงศ์ลาวแตกแยกกันเองเพราะต่างอุดมการณ์

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาขึ้นครองราชย์ในระหว่างที่ประเทศลาวแตกเป็นหลายฝ่าย โดยหัวหน้าแต่ละฝ่ายต่างเป็นเชื้อพระวงศ์ที่มาจากวังหลวงและวังหน้าทั้งสิ้น ซึ่งแยกย้ายฐานอำนาจกระจายไปสู่หลวงพระบาง, เวียงจันทร์และจำปาศักดิ์ แต่ต่างอุดมการณ์กัน พระองค์ตัดสินพระทัยทรงเลื่อนพิธีราชาภิเษกถึง 2 ครั้ง ด้วยเหตุที่บ้านเมืองไม่สงบ (และไม่เคยจัดพิธีราชาภิเษกจนพระองค์สวรรคต) พระองค์เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เพื่อแสดงความเป็นกลางของประเทศลาว

kennedy and last laos king 3

สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาเสด็จเยือนสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ เพื่อพบกับ John F. Kennedy ประธานาธิบดีสมัยนั้น

kennedy and last laos king 2

ขบวนทหารสหรัฐฯจัดขึ้นอย่างสมพระเกียตริ

kennedy and last laos king 1

ส่งเสด็จกษัตริย์ที่รัก

ช่วงเดือนเมษายน ปี 1961 ระยะเวลาปีกว่าหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระราชรถที่สร้างขึ้นใหม่ลงรักปิดทองทั้งคันรถความสูง 12 เมตร ด้านหน้าประกอบด้วยพญานาค  7 เศียร ราชรถตกแต่งลวดลายศิลปะแบบล้านช้างและรามเกียรติ์ มีความงดงามมาก ซึ่งขบวนราชรถเคลื่อนมารับพระบรมโกศ ณ หอคำ พระราชวังหลวงพระบาง แล้วเคลื่อนขบวนไปที่วัดธาตุหลวง ซึ่งเป็นวัดสำคัญที่จัดราชพิธีถวายเพลิงพระศพพระวรวงศานุวงศ์ (มีลานกว้างคล้ายสนามหลวงของกรุงเทพฯ) โดยจัดสร้างพระเมรุมาศไว้ที่ลานวัด หลังจากถวายพระเพลิงแล้ว ในส่วนของพระบรมอัฐิยังบรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดธาตุหลวงอีกด้วย หลังจากนั้น 1 ปี สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาทรงโปรดให้ช่างหลวงนามว่า “เพียตัน” ช่างแกะสลักประจำพระองค์ ออกแบบโรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถ ขึ้นในบริเวณวัดเชียงทอง ด้านนอกแกะสลักลงรักปิดทองงดงามเป็นลวดลายเรื่องราวรามเกียรติ์ 

… และพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพครั้งนั้น ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายของกษัตริย์ลาว 

funeral ceremony laos king 11

ขบวนราชรถเคลื่อนมารับพระบรมโกศที่พระราชวังหลวงพระบาง

funeral ceremony laos king 14

พระบรมโกศออกจากพระราชวังสู่ขบวนราชรถ เคลื่อนขบวนออกจากพระราชวังสู่ลานวัดพระธาตุหลวง

funeral ceremony laos king 6 funeral ceremony laos king 9

funeral ceremony laos king 16

สมเด็จพระศรีสว่างวัฒนาเสด็จในขบวน

funeral ceremony laos king 15

ประชาชนชาวลาวร่วมส่งเสด็จเป็นครั้งสุดท้าย

funeral ceremony laos king 1

ขบวนราชรถเคลื่อนมาถึงพระเมรุมาศ ณ วัดพระธาตุหลวง

funeral ceremony laos king 10

funeral ceremony laos king 8

น้ำตาลาว … หญิงชาวลาวกราบพระบรมโกศ ณ พระเมรุมาศ

 funeral ceremony laos king 5    funeral ceremony laos king 12 funeral ceremony laos king 13

เกิดชาติกษัตริย์ ตายอย่างนักโทษ

หลังจากพระราชบิดาสวรรคต สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงเป็นกษัตริย์ปกครองได้ 16 ปี พระองค์ครองราชย์ภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองแตกแยกระหว่างฝ่ายทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ ช่วงปี 1975 หลังจากสหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม และถอนกำลังออกจากอินโดจีนในที่สุด คอมมิวนิสต์ก็มีอำนาจมากขึ้น เวียดนามรวมประเทศ, กัมพูชาถูกปลดปล่อยประเทศ แต่ก็นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากกลุ่มเขมรแดง พอมาถึงลาว เกิดกระแสการปลดปล่อยประเทศมากขึ้นหลังจากที่สองดินแดนเพื่อนบ้านปลดปล่อยประเทศสำเร็จ … ซึ่งภายใต้การบริหารประเทศลาว 3 ฝ่าย ได้เผยแพร่โครงการการเมือง 18 ข้อ มุ่งเน้นเสรีภาพของประชาชน (บ้างก็อ้างประชาธิปไตยของประชาชน แต่จริงๆคือแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ แบบที่จีนแดงใช้เมื่อครั้งปฏิวัติประเทศนั้นเอง) โดยมีผู้นำคนสำคัญคือ ไกสอน พมวิหาน ทำให้การขบวนการต่อต้านฝ่ายขวาหรือเสรีทุนนิยมมากยิ่งขึ้น มีการปราศรัยเดินขบวนหลายแห่ง ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา กรรมกร ชาวนา รวมถึงข้าราชการฝ่ายซ้าย เพื่อกดดันข้าราชการและรัฐมนตรีฝ่ายขวาให้ลาออก หรือจับเป็นนักโทษทางการเมือง

*หมายเหตุ: ปัจจุบันในประเทศลาวยกย่อง ไกสอน พมวิหาร เป็นวีรบุรุษ มีอนุสาวรีย์ของเขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงบนธนบัตรลาวอีกด้วย

last laos king at viang sai

เจ้าสุพานุวง (ฝ่ายคอมมิวนิสต์) ระหว่างพาเจ้าศรีสว่างวัฒนากับพระราชินี เยี่ยมเยือนประชาชนเมืองเวียงไซ ถ่ายเมือ พ.ค. 1975 ก่อนทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง 6 เดือน และท่านยังเป็นประธานาธิบดีคนแรกของลาว

Kaysone Phomvihane

ไกสอน พมวิหาน ขบวนการปะเทดลาว ผู้มีส่วนสำคัญในการล่มล้างระบอบกษัตริย์ในลาว จนเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์แบบจีนและเวียดนามในที่สุด

วันที่ 25 พ.ย. 1975 กลุ่มขบวนการปะเทดลาวร่วมกับรัฐบาลผสมและคณะรัฐมนตรีผสมการเมืองแห่งชาติ ประชุมขึ้นที่เมืองเวียงไซ (ทางเหนือของลาว) ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ลบล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์ในประเทศลาว โดยท่านสุพานุวง, ท่านสุวันนะพูมา และท่านพูมี วงวิจิด นำมติที่ประชุมเพื่อกราบบังคมทูลต่อเจ้าศรีสว่างวัฒนาที่พระราชวังหลวงพระบาง

วันที่ 29 พ.ย. 1975 เป็นวันที่ชาติลาวต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการปกครองระบอบกษัตริย์ยาวนานถึง 704 ปี (ค.ศ.1271-1975) คณะรัฐบาลเข้าเฝ้าพระองค์ ณ พระราชวังหลวงพระบาง กราบบังคมทูลมติของที่ประชุม สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาตัดสิ้นพระทัยสละราชบังลังก์ (บ้างก็ว่า จากสถานการณ์แล้วพระองค์ถูกบังคับ) โดยพระองค์ยังได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาสูงสุดของประธานประเทศ และพระองค์ไม่ขอรับโอกาสที่จะหลีภัยทางการเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า

“เราเป็นคนลาวด้วยกันก็ต้องคุยกันได้”  

last laos king and queen

สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนากับสมเด็จพระราชินีอัครมเหสีคำอุ่น

วันที่ 2 ธันวาคม 1975 ฝ่ายปะเทดลาวจัดตั้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยให้เจ้าสุพานุวง เป็นประธานประเทศ(ประธานาธิบดี) ไกสอน พมวิหาน เป็นนายกรัฐมนตรี และเจ้าศรีสว่างวัฒนา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประธานประเทศ

*หมายเหตุ: แง่มุมอีกด้าน หลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดประเทศลาว ล้มล้างระบบกษัตริย์ได้สำเร็จ รวมถึงล้างสมองประชาชนให้ต่อต้านทุนนิยมแล้ว การจัดการบริหารประเทศไม่เป็นไปตามนโยบายที่ให้ไว้ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใครไม่เห็นด้วยจะถูกส่งไปที่ศูนย์สัมมนา ที่เวียงไซ แล้วยังมีข้อห้ามมากมาย เช่น ห้ามประชาชนออกนอกบ้านตอนกลางคืน, ห้ามแต่งตัวตามอย่างตะวันตก ซึ่งประชาชนที่อยู่ตามหัวเมืองใหญ่ๆไม่สามารถใช้ชีวิตในแบบสังคมนิยมได้ ทำให้ยุคนั้นมีชาวลาวหลีภัยมายังประเทศไทยนับหมื่นคน นอกจากนี้ค่ายผู้หลีภัยในประเทศไทยจัดตั้งเมื่อปี 1975 ในระยะเวลาสงครามอินโดจีนหลายปี ไทยได้ให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากลาว, กัมพูชา และเวียดนาม ราว 1.3 ล้านคน

refugee_in_Thailand_history

ค่ายผู้หลี้ภัยชายแดนไทย-ลาว

012hmong

ถึงแม้ว่าพระองค์จะเป็นสามัญชน แต่พระองค์ยังคงประทับอยู่ในพระราชวังหลวงพระบาง จนในปีถัดมา รัฐบาลลาว นำโดย พูมี วงวิจิด สั่งให้พระราชวังและทรัพย์สินพระราชวังตกเป็นของแผ่นดิน มีผลให้พระองค์และพระญาติวงศ์เสด็จไปประทับ ณ ที่พักใกล้วัดเชียงทอง 

ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม ปี 1977 เหตุการณ์บ้านเมืองลาวยังไม่สงบดี และรัฐบาลลาวสมัยนั้นหวั่นว่า พระองค์จะถูกมองเป็นสัญลักษณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ เพราะยังมีทหารและชาวลาวที่ยังต่อต้านรัฐบาลอยู่ จึงนำพระองค์, พระมเหสี, เจ้าฟ้าชายมกุฏราชกุมาร, เจ้าฟ้าศรีสว่าง, และพระอนุชาของพระองค์คือ เจ้าฟ้าสุพันธรังสี และ เจ้าฟ้าทองสุก รวมถึงพระญาติวงศ์และข้าราชการที่ติดตามพระองค์ ได้ถูกพามาอยู่ศูนย์สัมมนาที่เมืองเวียงไซ ประทับ ณ “ค่ายหมายเลข 1” โดยจับแยกหญิงแยกชาย ถึงแม้ว่าศูนย์สัมมนาจะเป็นที่รู้กันว่า เป็นสถานที่เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ ต่อต้านระบอบเสรีทุนนิยม แต่จริงๆแล้วที่นี้เปรียบเสมือนค่ายกักกันนักโทษทางการเมือง มีทั้งราชวงศ์, ข้าราชการ, ปัญญาชน มากมาย

ศูนย์สัมมนา

ภาพนี้คือศูนย์สัมมนา ที่ตั้งทางซัมเหนือ เมืองเวียงไซ ไม่ต่างจากค่ายกักกันทางการเมือง (Pantip)

… สุดท้ายชะตากรรมกษัตริย์องค์สุดท้ายไม่มีแม้แต่พิธีถวายพระเพลิง

เจ้าศรีสว่างวัฒนา, พระมเหสี และพระโอรส จบชีวิตลง ณ ศูนย์สัมมนา โดยคำบอกเล่าต่างๆจากเอกสารที่รวบรวมเกี่ยวกับศูนย์สัมมนา (ซึ่งมีออกมาน้อยมาก) เจ้าศรีสว่างวัฒนาถูกข่มเหงต่างๆนานา ต่อมาสวรรคตด้วยสาเหตุจากความชราภาพและการอดอาหาร ไม่มีพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพอย่างสมพระเกียรติแต่อย่างใด ส่วนเจ้าฟ้าชายมกุฏราชกุมารได้สิ้นพระชนม์ก่อนหน้านี้จากการขาดอาหาร รวมถึงพระมเหสีที่ผิดใจกับผู้คุ้มหลังถูกขโมยแมวที่รักไปฆ่ากินเป็นอาหาร โดยพระศพของทั้ง 3 พระองค์ถูกฝังที่ในป่าใกล้ศูนย์สัมมนา(ปัจจุบันไม่มีแล้ว)

ปัจจุบันไม่มีใครทราบว่า พระศพถูกฝั่งบริเวณไหนกันแน่ ถึงแม้ว่าจะมีผู้รอดชีวิตจากศูนย์สัมมนา แต่เรื่องราวถูกเปิดเผยน้อยเหลือเกิน รวมถึงข้อเท็จจริงต่างๆยังถูกเป็นความลับยาวนานกว่า 40 ปี ตั้งแต่อาณาจักรลาวเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมนิวนิสต์แบบเดียวกับเวียดนาม เรียกประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

king_savang

เจ้าศรีสว่างวัฒนา

unnamed

เจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง (คนที่สองจากขวา) กับ เจ้าหญิงมณีไลย มกุฎราชกุมารีแห่งลาว (ซ้ายสุดแถวหน้า) เสด็จเยือนสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ ถ่ายที่ White House ร่วมกับประธานาธิบดี Lyndon Baines Johnson ปี 1967

เจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง

เจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง ช่วงวัยรุ่น

เจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง มณีไลย

ภาพถ่ายในพิธีอภิเษกสมรส เจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง กับ เจ้าหญิงมณีไลย

*หมายเหตุ: เจ้าหญิงมณีไลย เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกปล่อยตัวจากศูนย์สัมมนาหลังจากเหตุการณ์ในลาวสงบ พระองค์ใช้ชีวิตอยู่ที่หลวงพระบาง ปัจจุบันพระชนม์มายุ 75 พรรษา (ประสูติปี 1941)

จากชาติกษัตริย์สู่นักโทษทางการเมือง สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งชาติลาว พระองค์ไม่เคยทอดทิ้งประเทศของพระองค์ถึงแม้ว่ามีโอกาสลี้ภัยทางการเมืองก็ตาม พระจริยวัตรและความเมตาของพระองค์ยังคงอยู่ในความทรงจำของคนแก่คนเฒ่าชาวลาว โดยเฉพาะคนหลวงพระบางที่เคยพบพระองค์ ในทางตรงกันข้ามพระองค์ค่อยๆเลือนลางและกำลังจะจางหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นหลัง เหลือไว้เพียงพระราชวังหลวงพระบางที่ยังเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม รวมถึงโรงเมี้ยนโกศ ณ วัดเชียงทอง ที่เก็บราชรถที่ยังคงสง่างามถึงแม้จะถูกใช้งานเพียงครั้งเดียวในพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพเจ้าศรีสว่างวงศ์ และครั้งนั้นก็คือ ครั้งสุดท้ายก็ตาม … 

***ฝากแชร์เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่หาอ่านยากแบบนี้ด้วยนะครับ***

*** เที่ยวรู้ลึก เรื่องราวสนุกๆ ติดตามเพจ >>> https://www.facebook.com/NightPhoominOfficial/

 

Luang Prabang หลวงพระบาง nightphoomin 112

โรงเมี้ยนโกศ ณ วัดเชียงทอง

พระบรมโกศพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ จัดแสดงบนราชรถ

Luang Prabang หลวงพระบาง nightphoomin 166

ทางเดินมุ่งสู่ทางเข้าพระราชวังหลวงพระบาง

สำหรับใครที่อยากไปสัมผัสรากเหง้าชนชาติลาว ผมแนะนำเมืองหลวงพระบาง มรดกโลก ยังรอทุกคนไปเยือนนะครับ ผมเคยเขียนรีวิวฉบับเต็มไว้ที่ >>> http://www.nightphoomin.com/luangprabang/

ติดตามเพจผมได้ที่

https://www.facebook.com/NightPhoominOfficial

Instagram: @nightphoomin

Twitter: @nightphoomin

The funeral procession of King Sisavang Vong of Laos, กษัตริย์ลาว, the last king of laos, Sisavang Vatthana, สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา, สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์,Sisavang Vong, luang prabang, laos, ลาว, หลวงพระบาง, วัดเชียงทอง, น้ำตกกวางสี, ถ้ำปากอู, ท่องเที่ยว,travel, รีวิว, pantip, พันทิป, review, blogger, บล็อกเกอร์, บล็อกเกอร์ผู้ชาย,บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว, travel blogger



I'm the creator and producer of a tv show. Also, I work on social media marketing for artists, products and special projects. I love writing- photography and enjoy sharing them on my social media. I like the hit music, good movies, exercise and traveling. This is my blog. I hope you will enjoy it.